วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ EDUCATION 4.0

วัน ศุกร์  ที่ ๒ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙


หลังจากที่ผมได้รับหน้าที่ให้เขียนบทความทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับ Smart Factory หรือ Industry 4.0 ผมก็เริ่มตั้งคำถามว่า Industry 4.0 คืออะไร ต่างอะไรกับยุค 3.0 อะไรคือสิ่งที่จะบอกเราว่าเราเข้าสู่ยุค 4.0 ส่วนด้านการศึกษาเราต้องพัฒนาเยาวชนของเราด้านใดบ้าง ผู้อ่านหลายๆ ท่านคงทราบดีถึงประวัติศาสตร์กว่า 200 ปี ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ภายหลังจากที่ James Watt ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำยุคใหม่ และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายแทนแรงงานคนและสัตว์ รวมถึงการพัฒนาระบบรางต่างๆ ทำให้การขนส่งสะดวกรวดเร็วมากขึ้น จนถึงทุกวันนี้ยุคแห่งอุตสาหกรรม 3.0 วันที่เครื่องจักรมีสมองกลทำงานได้อัตโนมัติ มีความสามารถต่างๆ มากขึ้น แต่แค่นั้นไม่พอสำหรับการแข่งขันในยุคดิจิทัล ทำให้เราต้องปรับตัวและโครงสร้างอุตสาหกรรมและการศึกษา โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศน์เข้ามามีส่วนช่วยในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และนั้นคือปัจจัยที่สำคัญที่จะพาเราสู่ Industry 4.0
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งนี้มีความสำคัญมาก เพราะตลาดแรงงานคงมีการปรับตัวครั้งใหญ่ คนเราสามารถที่จะหาความรู้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคนทางด้านวิทยาศาสตร์คงไม่ใช่เรื่องยาก แต่การพัฒนาคนทางด้านศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์กลับยากกว่าเดิม และนั่นจะเป็นปัญหาใหญ่ของโลกแห่งยุค Industry 4.0 ยุคที่พี่ใหญ่อย่างอเมริกาใช้คำว่า Internet of thing ความหมายก็คือยุคที่คนเราอยู่กับ Internet ตลอดเวลา เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปกับ Social Media เด็กเรียนหนังสือกับ Youtube ชีวิตเราปัจจุบันปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้นจริงๆ และเราก็ไม่สามารถที่จะต้านทานกระแสของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ มีแต่ต้องพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคนี้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดและนั่นคือที่มาของคำว่า “Education4.0”
Education 4.0 มันเป็นคำที่ผุดขึ้นมาหลังจากมีคำถามมากมายเกิดขึ้นว่าเราจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ผมเลยลองถามอากู๋ ผมดูว่ามันจะหมายถึงอะไร สรุปว่ายังไม่มีใครบัญญัติไว้ชัดเจนนะครับ มีแต่ Education 3.0 คือ การส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อการสอนทุกรูปแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ผสมกับการทำงานเป็นกลุ่ม และปรับการสอนให้มีรูปแบบ Interactive learning รวมทั้งการนำสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ผมก็เลยค้นหาต่อไปว่าแล้ว Education 4.0 ต้องการอะไร และจะสนับสนุน Industry 4.0 ได้อย่างไร และก็ได้ข้อมูลจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มพัฒนาระบบการศึกษาเข้าสู่ยุค 4.0 เช่น การสร้างห้องเรียน i-SCALE คือ ห้องเรียนทันสมัยที่มุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน มีการเรียนการสอนที่มุ่งการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งคือแนวทางออกแบบที่มุ่งความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ และการผลิตนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของสังคมส่วนใหญ่ หลังจากที่ผมอ่านบทความของท่านจบ ผมก็ได้พบกับความหมายของคำว่า Education4.0 ในแบบฉบับของผมซึ่งผมคิดเข้าข้างตัวเองว่าน่าจะเป็นผู้บัญญัติมันขึ้นมาเอง
Education 4.0 คือการเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม
            การเรียนการสอนในบ้านเราที่ผมยังพอสัมผัสได้ ยังคงห่างไกลในหลายๆ มิติ เช่น เราไม่เคยสอนให้เด็กของเราได้คิดเองทำเอง ส่วนใหญ่ยังคงสอนให้เด็กทำโจทย์แบบเดิมๆ ผมชอบเวลาที่มีหลายคนมีรูปคำตอบของเด็กๆ ที่แปลกๆ มาลงเฟสบุ๊ค ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงก็คงดี แสดงว่าเด็กกล้าคิดมากขึ้น อีกเรื่องคือเด็กของเราเริ่มไม่รู้จักสังคม เด็กๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาในโลกออนไลน์ไปกับ เกมส์ ช้อปปิ้ง เแชท เฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตราแกรม ซึ่งส่วนใหญ่มันเป็นสังคมมายา ซึ่งเทคโนโลยีไม่ได้ผิดนะครับ แต่เหรียญมันมีสองด้าน เทคโนโลยีก็เช่นกัน เราจะนำไปใช้ในด้านใดให้เกิดประโยชน์ มันเป็นความยากและท้าทาย ผู้ที่ต้องทำหน้าที่สอนเด็กๆ ในยุคนี้ เพราะการเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องปล่อยให้เด็กได้ใช้เทคโนโยี ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปล่อยให้เด็กกล้าคิดและกล้าที่จะผิด แต่ทั้งหมดก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบที่สังคมต้องการหรือยอมรับได้ ไม่ใช่ว่าเก่งจริง คิดอะไรใหม่ๆ ได้เสมอมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเรื่องของ Education 4.0 มันฟังดูเหมือนง่ายมากเพราะมันมีปัจจัยหลักๆ แค่ 3 ปัจจัยคือ
1.Internet
เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาความรู้ ผมเองจะเขียนบทความนี้ก็อาศัย Internet นี่ล่ะครับ เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นทางสถาบันการศึกษาคงต้องสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึง Internet ได้ง่าย มากกว่ามอง Internet เป็นผู้ร้ายแล้วกลัวว่านักเรียนนักศึกษาจะใช้ Internet ไปในทางที่ไม่ดีเลยไม่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ในสถาบัน
2.ความคิดสร้างสรรค์
หลายๆ ท่านชอบพูดนะครับว่าเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นพรสวรรค์ไม่ใช่พรแสวงเรียนรู้กันไม่ได้ เพราะคิดกันแบบนี้เราถึงไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ขึ้นมาได้ หลักสูตรการเรียนการสอนควรจะเปิดโอกาส ให้นักเรียนนักศึกษากล้าที่จะคิดนอกกรอบหรือต่อยอดจากตำรา
3.การปฏิสัมพันธ์กับสังคม
เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและทำงานร่วมกันในสังคมได้ จุดนี้ไม่ใช่เพื่อความต้องการของตลาดแล้วนะครับ (สงสัยคราวหน้าต้องมาเขียนเรื่อง Marketing 4.0) ทางสถาบันการศึกษาเองควรมีกิจกรรมให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าร่วมเป็นประจำ มีการสนับสนุนการทำงานแบบเป็นกลุ่มมากกว่างานเดี่ยว
ถ้าปัจจัยทั้ง 3 ข้อทำได้ดี Education 4.0 ก็จะสามารถสร้างและพัฒนาคน ให้สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ มาปะติดปะต่อและประยุกต์เข้ากับงานที่ทำ สามารถต่อยอดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ มีเพื่อนฝูงมีคอนเนคชั่น ซึ่งทั้งหมดก็คือคุณสมบัติหลักๆ ของบุคลากรที่ตลาดแรงงานในยุค Industry 4.0 ต้องการ ผมก็ต้องขอฝากไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในบ้านเราที่ตอนนี้มุ่งแต่จะตอบสนอง AEC ซึ่งผมก็คิดว่ามันก็สำคัญ แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของ Industry 4.0 ด้วย ช่วยกันเปลี่ยนการเรียนการสอนในบ้านเรา จากระบบการท่องจำและการเคารพอาจารย์ โดยการที่ไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง มาเป็นระบบที่สอนให้น้องๆได้หัดคิด หัดทำ สามารถที่จะโต้ตอบด้วยเหตุผลกับอาจารย์ได้ แต่ก็ยังคงต้องมีกรอบให้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมในสังคมด้วย น้องๆ จะได้มีโอกาสสร้างนวัตกรรมแข่งขันกับชาติอื่นๆ ได้มากกว่านี้ ซึ่งทางแอพพลิแคดเองก็มีความยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถความคิดสร้างสรรค์ อย่างเช่น กิจกรรมประกวดการออกแบบด้วย SolidWorks โดยติดตามรับข่าวสารได้ที่ Facebook fanpage: Solidworksthai

         ศ.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทางคณะปรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ เน้นให้นิสิตคิดเป็น คิดนอกกรอบ สอดรับกับกระแสโลกที่ต้องสร้างคนยุคใหม่ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยให้อาจารย์ผู้สอนเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน โดยสอนให้น้อยที่สุด และต้องเปิดโอกาสให้นิสิตแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนให้มากที่สุด เมื่ออาจารย์สอนจบในแต่ละชั่วโมง หรือแต่ละเรื่อง ต้องจัดแบ่งเวลาให้นิสิตได้ถกเถียง สรุป และวิจารณ์เรื่องที่เรียน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับอาจารย์ ซึ่งหลังจากจัดการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าว พบว่าอาจารย์เข้าใจกับแนวทางนี้เป็นอย่างดี ขณะที่นิสิต คณะวิทย์ ก็มีผลลัพธ์น่าพึงพอใจ เพราะนอกจากได้คิดวิเคราะห์แล้ว ยังเป็นนักปฏิบัติที่สร้างความรู้ใหม่ๆ ได้มากขึ้น
         ศ.สุพจน์กล่าวต่อว่า ทางคณะยังเตรียมความพร้อมก้าวสู่ยุคสมัยการศึกษาแบบ Education 4.0 หรือการศึกษาระบบ 4.0 ยุคที่การเรียนการสอนต้องสร้างนักนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้อาจารย์ นิสิต เป็นนักคิดนักสร้างนวัตกรรม และกระตุ้นให้คนที่เข้าเรียนวิทยาศาสตร์ มุ่งหวังที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนวัตกรรมด้วยตัวเอง และร่วมมือกับเอกชนจัดตั้งห้องแล็บในคณะ เพื่อให้นิสิต อาจารย์ทำงานร่วมกับเอกชน ร่วมมือในการพัฒนา สร้างนวัตกรรมต่างๆ โดยตั้งเป้าเมื่อคณะครบ 100 ปีในอีก 2 ปีข้างหน้า คณะจะก้าวสู่ยุค Education 4.0 อย่างเต็มรูปแบบและเป็นคณะเกรดเอ สอดรับกับความต้องการของประเทศ

นวัตกรรมการคิดในห้องเรียน Chula Engineering Education 4.0

หลังจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "การศึกษาระบบ 4.0 หรือ Chula Engineering Education 4.0" อย่างเป็นทางการ จนทำให้เกิดการปฏิวัติการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่

ที่ไม่เพียงจะทำให้หลายคนกล่าวขานถึง

หากยังทำให้หลายคนอยากรู้ด้วยว่า "การศึกษาระบบ 4.0 หรือ Chula Engineering Education 4.0" นั้นมีรายละเอียดเป็นอย่างไร 

"ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์" คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า การศึกษาระบบ 4.0 หรือ Chula Engineering Education 4.0 ใช้ในการเรียนการสอนภายในคณะวิศวะ จุฬาฯ มาตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2557 เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้สอน เปิดโลกทัศน์ผู้เรียนได้รู้จริงทำจริง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างนวัตกรรม
"การเรียนการสอนของไทยในอดีตมีลักษณะการถ่ายโอนความรู้ในทิศทางเดียวจากผู้สอนสู่ผู้เรียน หรือเรียกว่าการศึกษาระบบ 1.0 และ 2.0 แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของอินเทอร์เน็ต จนนำไปสู่การศึกษาระบบ 3.0 ในปัจจุบัน ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ แต่ทางคณะวิศวะ จุฬาฯ ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่จะสามารถผลิตบุคลากรในแบบเก่งคิดและเก่งคน ผ่านศาสตร์การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จึงได้พัฒนาการเรียนการสอนระบบ 4.0 หรือ Chula Engineering Education 4.0 ขึ้นมา"

"การศึกษาระบบ 4.0 จะมุ่งเน้นสร้างทักษะการฝึกฝนจากประสบการณ์ เพิ่มประสิทธิผลสูงสุดในเชิงธุรกิจ พร้อมเติมเต็มความต้องการของมนุษย์และสังคมอย่างตรงจุด จึงมีการริเริ่มรายวิชา Creative Design for Community ซึ่งจัดสอนครั้งแรกในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2557"


"เปิดรับนิสิตปีที่ 2-4 โดยรายวิชานี้ นิสิตมีโอกาสทำโปรเจ็กต์จริง โดยได้รับโจทย์จริงจากองค์กรและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ทั้งหมดเป็นโปรเจ็กต์เชิงปัญหาสังคม ทั้งยังเชิญวิทยากรภายนอกผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาร่วมสอนและให้คำแนะนำต่าง ๆ ในรายวิชาอีกด้วย ซึ่งการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กับนิสิตทุกชั้นปีในอนาคต"


"ศ.ดร.บัณฑิต" อธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การสอนระบบ 4.0 เปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่มาส่งเสริมการเรียนการสอนให้เข้มข้นขึ้น จึงได้รับการสนับสนุนจากเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต, ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, พีทีที โกบอล เคมิคอล และปูนซีเมนต์ไทย ด้วยการมอบทุนรายละกว่า 2,580,000 บาท เพื่อพัฒนาพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ i-SCALE


"ศูนย์การเรียนรู้ i-SCALE เป็นลักษณะห้องเรียนยุคใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ประกอบด้วยโต๊ะเรียนที่จัดรูปแบบง่าย สามารถปรับให้มีการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ตามความต้องการ เพื่อก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนนิสิตในกลุ่ม, จอแสดงผลที่ให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำการสื่อสารแบบ 2 ทาง เพื่อแลกเปลี่ยนผลงาน สร้างแรงกระตุ้นและส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ร่วมกัน"


ทั้งยังจัดบรรยากาศห้องเรียนด้วยการตกแต่งให้มีสีสันสดใส ทันสมัย เพื่อกระตุ้นพลังความคิดสร้างสรรค์ให้พวกเขาเกิดกระบวนการคิด และมีทักษะปฏิบัติเป็นเลิศด้วยการพัฒนาศูนย์ i-DESIGN WORKSPACE ขึ้นมารองรับ


"หลังจากนิสิตผ่านห้องการเรียนรู้จนทำให้พวกเขามีความคิดในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านศูนย์การเรียนรู้ i-SCALE แล้ว ศูนย์ i-DESIGN WORKSPACE ยังเป็นพื้นที่ความคิดที่ทำให้เขาเหล่านั้นลงมือปฏิบัติจริง โดยบรรยากาศภายในจะเป็นแบบ Engineering Playground มีบรรยากาศสีสันสดใส มีอุปกรณ์การนำเสนอ และระบบสื่อสารที่พร้อมให้นิสิตทำโครงงานต่าง ๆ รองรับการทำ Digital Prototyping ไปจนถึง Rapid Prototyping พื้นที่ทำโครงงานที่ทำให้บัณฑิตก้าวจากการผลิตสิ่งประดิษฐ์สู่การฝึกฝนความรู้และทักษะเพื่อการผลิตนวัตกรรมต่อไป"


นับว่าเป็นระบบการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตคิดเป็นและทำเป็น สร้างความพร้อมในการก้าวสู่ความเป็นสากลภายใต้แนวคิดที่ว่า "Foundation towards Innovation"

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดี จัดงานแถลงข่าว “การพลิกโฉมระบบการศึกษาของเมืองไทยด้วย Chula Engineering Education 4.0” ร่วมกับตัวแทนจาก 4 องค์กรธุรกิจชั้นแนวหน้า ได้แก่ นายกิจชัย ปีติวิวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ภูมิภาคเอเชียใต้ ฝ่ายจัดการแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด นายปรีชา ศุภลักษณ์ ที่ปรึกษา บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ดร.จารุณี ตันติเวชวุฒิกุล ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานกลยุทธ์กิจการเพื่อสังคม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และนางฉวีวัณณ์ วิชชุภานันท์ ผู้จัดการอาวุโส พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยี บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมเปิดตัว “ศูนย์การเรียนรู้ i-SCALE” ห้องเรียนยุคใหม่ที่มุ่งพัฒนาให้เกิด Student-Centered Active Learning Experience เพื่อสร้างแรงกระตุ้น และส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างผู้สอน กับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน ตลอดจนสนับสนุนการสืบค้นองค์ความรู้จากแหล่งภายนอก เพื่อนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอน และกระตุ้นพลังความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากเชฟรอน และทั้ง 3 องค์กร 

ลักษณะพิเศษ Education 4.0

     สืบเนื่องจาก การเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด Open Education Resource เข้าถึงได้ง่าย ยิ่งในยุคสมาร์ทโฟน Mobile Education การเข้าถึงยิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว เด็ก เยาวชนยุคใหม่ มีลักษณะเป็น ชนพื้นเมืองดิจิทัล Digital native การเรียนการสอนแบบเก่าในห้องเรียน ที่ท่องบ่นเนื้อหา ตามแผนการสอน ตามกรอบหลักสูตร หรือทำโจทย์ ทำข้อสอบแบบเดิมจึงไม่เหมาะกับการศึกษายุคใหม่
     การศึกษายุคใหม่ Next Generation Education ต้องเน้นแสวงหา เรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานะการณ์
     การจัดการศึกษา 4.0 จึงต้องนำเอาหลักการ เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ ที่ตรงความสนใจของ ชนพื้นเมืองดิจิทัล ที่มีชีวิตในโลกไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วย
     การจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันบนไซเบอร์ โดยใช้ขีดความสามารถของระบบเชื่อมโยงทางฟิสิคัลกับไซเบอร์ ที่มีอุปกรณ์สมาร์ทสมัยใหม่ช่วย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต ฯลฯ ต้องรู้จักใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อการแสวงหาเรียนรู้จากความรู้อันมหึมาบนคลาวด์ โดยการใช้เครื่องมือที่สมาร์ทสมัยใหม่เชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน 
     การจัดการศึกษายุคใหม่ต้องใช้เครื่องทุ่นแรงทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และเรียนรู้ได้เร็ว Learning curve  สร้างกิจกรรมใหม่ๆบนไซเบอร์ โดยมีเครื่องมือทางดิจิทัล และเทคโนโลยีเกิดใหม่ IoT เป็นสิ่งทุ่นแรงเหมือนเครื่องจักรกลช่วยให้เรียนรู้ในสิ่งที่ยาก และสูงขึ้น ใช้รูปแบบเสมือนจริง Virtualization ให้ผู้เรียนใช้รูปแบบการใช้เชื่อมต่อบนคลาวด์แบบเสมือนจริง เครื่องมือการเรียนรู้แบบใหม่ๆ เป็นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงออกในความคิดเห็น Socratic method
     การจัดการศึกษาให้มีรูปแบบการบริการ Service oriented และเข้าถึงได้ในรูปแบบ real time ตลอดเวลา ทั่งถึง ทุกที่ ทุกเวลา Ubiquitous
     การศึกษาต้องไม่เน้นกรอบการเรียนรู้ แต่เน้นการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างความรู้ใหม่ ไม่อยู่ในกรอบหลักสูตรแบบเดิม เป็นการเรียนรู้ตามความต้องการมากขึ้น
     การศึกษา 4.0 จะมีผลกระทบกับโรงเรียนแบบเก่า ที่ระบบการศึกษากำลังกลับด้านจากด้านโรงเรียนมาสู่ผู้เรียน การรับบริการการศึกษาด้านต่างๆบนไซเบอร์ทำได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนเลือกจากที่ต่างๆได้ง่าย และตรงกับโมเดลชาวพื้นเมืองดิจิทัส
        โมเดลการจัดการศึกษาจะเปลี่ยนไป เหมือน การฟังเพลง เมื่อก่อนต้องซื้อเทป ซีดี หรือผู้เรียนต้องจ่ายค่าเล่าเรียน แต่การศึกษาแบบใหม่ การเข้าถึงบริการกิจกรรมการเรียนรู้บนไซเบอร์ จะเหมือนการฟังเพลงบนยูทูปโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ซื้อเทปซีดี เพียงการเข้าถึง บนคลาวด์ ในโลกไซเบอร์



แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.applicadthai.com/articles/education-4-0/
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416982570
http://imgads.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000135173&Html=1&TabID=3&
http://www.chanthaburi.buu.ac.th/~noc/index.php?option=NewsList&id_type=2&id_view=91&
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakkyTURnMU9BPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE5TMHdPQzB5Tmc9PQ==

คำถามท้ายเรื่อง

Education 4.0 คือการเรียนการสอนที่สอนเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ตอบ= สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม
๒. ความหมายของคำว่า Education 4.0  คืออะไร
ตอบ = Education 4.0 คือการเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม
๓. คําว่า การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ = เห็นด้วย เพราะ การศึกษาทำให้ได้ค้นคว้า จึงเป็นการเพิ่มพูนความรู้ 
๔. ในฐานะที่ท่านเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จงให้นิยามการศึกษาตามคิดเห็นของท่าน
ตอบ=  การศึกษา คือ สิ่งที่ขัดเกลาความคิด เสริมสร้างความรู้ พัฒนาสติปัญญา และยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น หมายรวมถึงการค้นคว้าหาความรู้อยู่เสอ
๕. ความมุ่งหมายทั่วไปและความมุ่งหมายเฉพาะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ=  แตกต่างกัน เพราะ ความมุ่งหมายทั่วไปจะกล่าวอย่างกว้างๆ ครอบคลุมในหลายๆ ด้าน แต่ความมุ่งหมายเฉพาะ เป็นความมุ่งหมายที่จะกล่าวเฉพาะเรื่อง ไม่ได้กล่าวครอบคลุม

10 ความคิดเห็น:

  1. อีกนิดเดียวถึงเส้นชัยแล้ว แก้ไขสีตัวอักษร

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2559 เวลา 00:38

    สุดยอด

    ตอบลบ
  3. อั้ยย้ะ สุดยยอด ครับ...

    ตอบลบ
  4. มีสาระนำไปใช้ได้

    ตอบลบ